กฟก.นครสวรรค์ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบกู้ยืมของโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

🗓️🌾 วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 นางทิพวรรณ์ เกตุหนู หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดนครสวรรค์มอบหมายให้นางสาวนิภา บุญสาร ตำแหน่งพนักงานทั่วไป และนางสาวจุฑาทิพย์ คชสุวรรณ์ เจ้าหน้าที่ กฟก. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรบ้านตะคร้อ หมู่ 5 รหัสองค์กร 6043007452 ที่ได้รับงบกู้ยืมของโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

📍 ณ ตำบลตะคร้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

กฟก.นครสวรรค์ ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 6/2567

🗓️🌾 วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนครสวรรค์จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่ 6/2567

📍 ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

กฟก.นครสวรรค์ ร่วมประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์ สัญจร ครั้งที่ 10 ประจำปีงบประมาณ 2567

🗓️🌾 วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 นางทิพวรรณ์ เกตุหนู หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดนครสวรรค์ร่วมประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์ สัญจร ครั้งที่ 10 ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อรับฟังรับปัญหาที่สำคัญ เร่งด่วน ข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่อำเภอชุมตาบง เกี่ยวกับด้านการตลาด แปรรูป ราคาผลผลิต เป็นต้น ที่ต้องได้รับการแก้ไขและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรของจังหวัดนครสวรรค์ ณ ห้องประชุมอำเภอชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์

📍 ณ ห้องประชุมอำเภอชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์

กฟก.นครสวรรค์ ลงพื้นที่ติดตามและเยี่ยมพบเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการชำระหนี้แทนพร้อมกับการลงพื้นที่การายงานตัวของเกษตรกรผู้มีสิทธิ์ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารรัฐ 4 แห่งตามมติ ครม. วันที่ 22 มีนาคม 2565

วันที่ 12 และวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 นางทิพวรรณ์ เกตุหนู หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดนครสวรรค์มอบหมายให้นายสุกฤษฏิ์ ทิมศิลป์ เจ้าหน้าที่ กฟก. ลงพื้นที่ติดตามและเยี่ยมพบเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการชำระหนี้แทนจำนวน 6 ราย พร้อมกับการลงพื้นที่การรายงานตัวของเกษตรกรผู้มีสิทธิ์ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 จำนวน 2 ราย

ณ ตำบลตาคลี ตำบลหนองโพ ตำบลพรมนิมิต อำเภอตาคลี ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองฯ และตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์

กฟก.นครสวรรค์ ลงพื้นที่ติดตามและเยี่ยมพบเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการชำระหนี้แทนพร้อมกับการลงพื้นที่ การรายงานตัวของเกษตรกรผู้มีสิทธิ์ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กฟก. ลูกหนี้ธนาคารรัฐ 4 แห่งตามมติ ครม. วันที่ 22 มีนาคม 2565

🗓️🌾 วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 นางทิพวรรณ์ เกตุหนู หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดนครสวรรค์มอบหมายให้นางสาวจุฑาทิพย์ คชสุวรรณ์ เจ้าหน้าที่ กฟก. ลงพื้นที่ติดตามและเยี่ยมพบเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการชำระหนี้แทนจำนวน 3 ราย พร้อมกับการลงพื้นที่การรายงานตัวของเกษตรกรผู้มีสิทธิ์ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 จำนวน 6 ราย

📍 ณ ตำบลหัวดง อำเภอเก้าเลี้ยว และตำบลบางตาหงาย ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

กฟก.นครสวรรค์ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบกู้ยืมของโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

กฟก.นครสวรรค์ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานขององค์กรเกษตรกรที่ได้รับงบกู้ยืมของโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

Continue reading

กลุ่มทำนา-เลี้ยงโคเนื้อชะลอมแหน ต.สายลำโพง ม.4

ชื่อองค์กร : ทำนา-เลี้ยงโคเนื้อชะลอมแหน ต.สายลำโพง ม.4
รหัสองค์กรเกษตรกร : 6043009692
สถานที่ตั้งองค์กรเกษตรกร : เลขที่ 18/6 หมู่ที่ 04 ต.สายลำโพง อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 60160

กลุ่มข้าวซ้อมมือบ้านหนองสระ

รหัสองค์กรเกษตรกร : 6046000068
สถานที่ตั้งองค์กรเกษตรกร : เลขที่ 29/1 หมู่ที่ 3 ต.วังใหญ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 60160

คณะกรรมการองค์กร
ชื่อ – สกุล : นายบุญลือ นุชมา (ประธานกลุ่ม)
ที่อยู่ : เลขที่ 29/1 หมู่ที่ 3 ต.วังใหญ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์60160
เบอร์โทร : 096-542-5585
ชื่อ – สกุล : นางทองใบ จันทร์ศรี(รองประธาน)
ที่อยู่ : เลขที่ 72 หมู่ที่ 3 ต.วังใหญ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 60160
เบอร์โทร : 096-542-5585
ชื่อ-สกุล : นางจินตนา กุมมาน้อย (กรรมการ)
ที่อยู่ : เลขที่ 35/3 หมู่ที่ 3 ต.วังใหญ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 60160
เบอร์โทร : 096-542-5585

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/การดำเนินงานโครงการ (output) :

  • องค์กรมีโรงสีข้าว เพื่อแปรรูป
  • เพิ่มจำนวนและขยายการผลิตข้าวให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มปริมาณข้าว โดยการปลูกแบบปลอดสาร
    ตามจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ
  • ออกแบบบรรจุภัณฑ์และจำหน่าย

การจำหน่ายของกลุ่มมีการจำหน่ายดังนี้:

  • จำหน่ายเป็นการบรรจุหีบห่อสุญญากาศและกระป๋อง แพ็คละ 1 กิโลกรัม
  • ผลิตภัณฑ์หลักคือ ข้าวขาว กิโลกรัมละ 50 บาท, ข้าวกล้อง กิโลกรัมละ 60 บาท, ข้าวไรซ์เบอรรี่
    กิโลกรัมละ 70 บาท, จมูกข้าวไรซ์เบอรรี่ กิโลกรัมละ 600 บาท
  • จำหน่ายเป็นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ 300 ตัว/บ่อ ตัวละ 40 บาท คิดเป็นเงิน 12,000 บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้น
    59,920 บาท/บ่อ/ปี ซึ่งสามารถชำระคืนกองทุนฯได้เฉลี่ยคนละ 10,500 บาท/ปี
  • การจำหน่าย จำหน่ายให้ลูกค้าทั่วไป และมีพ่อค้าคนกลางมารับที่บ่อ ออกจำหน่ายในงานจังหวัดเคลื่อนที่
  • โฆษณาผ่านสถานีวิทยุท้องถิ่น เพื่อขายสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น ตลาดออนไลน์ เช่น Facebook line
  • องค์กรยังคงดำเนินการกิจกรรมทำนาปลอดสารเคมีและแปรรูปเพื่อจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง